วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555




มหัศจรรย์หนึ่งเดียวในโลก ใบไม้สีทอง ของดีนราธิวาส

     ใบไม้สีทอง ของที่ระลึกหนึ่งเดียวจากจังหวัดนราธิวาส เป็นใบไม้อยู่ในป่าพบที่เทือกเขาบูโด วนอุทยานน้ำตกบาโจ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

     ใบไม้สีทองมีชื่อท้องถิ่นอีกชื่อหนึ่งว่า ย่านดาโอ๊ะ เป็นพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลกมีชื่อทางพฤกษาศาสตร์ว่า Bauhinia aureifalia ตั้งชื่อโดยศาสตราจารย์ ไคลาร์เสน (Dr.of Kai Lascrn) นักพฤษาศาสตร์ชาวเดนมาร์ค เมื่อ ค.ศ.1989 (พ.ศ.2532) โดยตั้งชื่อตามสีของใบ (Chryso-สีทอง, Phyllun-ใบ)

     อาจารย์สมมาตร์ ดารามั่น เล่าถึงที่มาของใบไม้สีทองว่า มาจากเมื่อชาวบ้านได้ไปพบใบไม้ดังกล่าวในป่าในแถบเทือกเขาบูโด จึงได้เก็บมาถวายสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งที่เสด็จฯ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงโปรดมาก และทุกครั้งที่เสด็จฯ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จะมีคนนำใบไม้สีทองมาถวายให้พระองค์นำไปประดับตกแต่งในพระตำหนักเสมอ โดยเฉพาะบนโต๊ะเสวย ทำให้ใบไม้สีทองเป็นที่รู้จัก พระองค์จึงได้ประทานชื่อต้นไม้ดังกล่าว ตามแหล่งที่พบคือ “ย่านดาโอ๊ะ” และเรียกมาจนถึงปัจจุบัน โดยรับสั่งให้มีการรณรงค์อนุรักษ์พันธุ์ไม้ดังกล่าวนับแต่นั้นมา

     ปี 2535 ทางดร.ชวลิต นิยมธรรม เห็นว่าเป็นใบไม้แปลก ไม่ทราบว่าเป็นใบไม้อะไร จึงส่งไปให้ทางสถาบันพฤกษศาสตร์ ประเทศเดนมาร์กศึกษา พบว่าเป็นใบไม้ที่แปลกทั่วโลกจะพบใบไม้ลักษณะนี้เพียง 2 แห่ง และที่ประเทศไทยก็เป็นแห่งหนึ่งที่มีใบไม้ดังกล่าว ที่จังหวัดนราธิวาส หลังจากนั้น ข้อมูลของใบไม้สีทองก็ถูกนำมาเผยแพร่

     ทางอาจารย์สมมาตร์ ดารามั่น ให้ความสนใจเรื่องราวของใบไม้สีทอง จึงได้รวบรวมข้อมูล ไปนำเสนอทางจังหวัด และทางจังหวัดได้ให้การสนับสนุน ทำข้อมูลเกี่ยวกับใบไม้สีทองแนะนำให้คนทั่วไปได้รู้จัก และทำเป็นของที่ระลึกของจังหวัดนราธิวาส โดยจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวและบุคคลทั่วไป ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยชาวบ้านจะเป็นผู้เก็บใบไม้มาส่งให้กับอาจารย์สมมาตร์ อีกทีหนึ่ง เนื่องจากใบไม้สีทอง อยู่ในป่าลึกการเดินทางเข้าออกจะลำบากมาก ดังนั้น คนที่จะเข้าไปเก็บใบไม้สีทองออกมาได้จะเป็นเฉพาะชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ เท่านั้น

คุณลักษณะ

     ใบไม้สีทอง ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะม้วนงอ เลื้อยขึ้นไปคลุมตามเรือนยอดของต้นไม้ใหญ่ ใบเดี่ยว  เรียงเวียนสลับ รูปเกือบกลม ปลายใบหยักเว้าเป็นแฉกลึก 2 แฉก โคนใบเว้าหยักคล้ายรูปหัวใจ รูปร่างคล้ายกับใบกาหลงหรือชงโค แต่ขนาดใหญ่กว่ามากใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง หรือขนสีทองแดงเป็นมันคล้ายเส้นไหมปกคลุมหนาแน่น ลักษณะเหมือนกำมะหยี่ เริ่มแรกใบจะเป็นสีนาค คล้ายสีชมพู เมื่อผ่านไปสัก 2 สัปดาห์ จะกลายเป็นสีน้ำตาล และเข้มขึ้นเรื่อยๆ  จนประมาณ 3 เดือน จะกลายเป็นสีทอง และอีก 6 - 7 เดือนต่อจากนั้น จากสีทองจะกลายเป็นสีเงิน ใบที่สมบูรณ์เต็มที่มีขนาด 10x18 ซม. แต่เคยพบใหญ่ที่สุดกว่า 25 ซม. นอกจากนี้ ใบไม้สีทอง ถือเป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ เส้นรอบวงของเถาวัลย์ประมาณ 100 ซ.ม. เลื้อยพันธุ์ต้นไม้ใหญ่ขึ้นสูงถึง 30 เมตร

     ดอกมีกลิ่นหอม ออกบนช่อแตกแขนงสั้นๆ ตามปลายกิ่ง กลีบดอก ๕ กลีบ รูปใบพาย สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีนวล ผลเป็นฝักแบนยาวคล้ายดาบ เมื่อแก่จะแตกออกมี ๖-๘ เมล็ด ออกดอกชุกระหว่างเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์

     เขตกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิด : พบเฉพาะในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลา ขึ้นตามที่โล่งริมลำธารในป่าดิบชื้น อุทยานแห่งชาติน้ำตกบาโจ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ระดับความสูง ๕๐-๒๐๐ เมตร ออกดอกและผลเดือน สิงหาคม - ธันวาคม

     สถานภาพ : พืชถิ่นเดียวและพืชหายากในสภาพธรรมชาติ ปัจจุบันนำมาขยายพันธุ์และปลูกเป็นไม้ประดับกันบ้าง แต่ยังไม่แพร่หลาย

วัสดุ

     การหาวัตถุดิบ จะต้อง ผ่านการอนุญาตจากวนอุทยานฯ เนื่องจากใบไม้สีทอง อยู่ในป่าลึกคนที่จะเข้าไปเก็บต้องเป็นผู้ชำนาญทาง โดยปีหนึ่งจะเก็บได้แค่ 2 ช่วง คือ เดือนมีนาคม และกันยายน เท่านั้น ใบที่เก็บมา เฉลี่ยจาก 100 ใบ จะมีใบสมบูรณ์สามารถนำมาจำหน่ายได้ประมาณ 20ใบเท่านั้น "หัวใจสำคัญ อยู่ที่ความรู้ในการเก็บ ต้องเริ่มจากการเก็บใบไม้สดมา แล้วมาทำให้แห้งตามธรรมชาติ ด้วยการใส่ลงในถุงคอยจนแห้ง ซึ่งต้องใช้เวลานานถึง 4 เดือนถึง 5 เดือน และนำมาอัดรีดให้เรียบ โดยต้องใช้เวลานานถึง 3 เดือน ก่อนที่นำมาใส่ซองบรรจุภัณฑ์ หรือนำมาใส่กรอบรูป

วิธีการใช้

     นำมาใส่เป็นกรอบรูปแขวนผนัง เป็นของแต่งบ้าน ของที่ระลึก


"ย่านดาโอ๊ะ" หรือใบไม้สีทอง
เป็นพืชมหัศจรรย์ที่มีกำมะหยี่ละเอียดนุ่มปกคลุมใบไม้สีทอง
เป็นพันธุ์ไม้เลื้อย  มีลำต้นเป็นเถาขนาดใหญ่
เกาะเลื้อยพันขึ้นไปตามต้นไม้ใหญ่ได้สูงถึง  ๓๐  เมตร
ใบมีขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายใบชงโค
ใบที่สมบูรณ์เต็มที่มีขนาด ๑๐ x ๑๘  เซนติเมตร
ผิวใบมีขนละเอียดคล้ายกำมะหยี่สีทองหรือสีเหลืองเคลือบเงิน
ใบมี ๒ ชนิดคือ  กลุ่มใบสีเขียว   ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง
และ กลุ่มใบสีทอง   ใบกลุ่มสีทองนี้  ขณะเป็นใบอ่อนจะมีสีม่วง
เมื่อใบแก่ขึ้นจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีทองแดง
ระยะสุดท้ายจะเปลี่ยนเป็นสีเงิน  แล้วจึงทิ้งใบ
ระยะที่เห็นเป็นสีทองชัดเจน  จะอยู่ประมาณเดือนมิถุนายน  ถึง  กรกฎาคม
โดยจะปรากฏใบสีทองเมื่อต้นมีอายุ ๕ ปีขึ้นไป
"ย่านดาโอ๊ะ" หรือใบไม้สีทอง
พบเป็นแห่งแรกของโลกที่น้ำตกปาโจ  อุทยานแห่งชาติบูโด – สุไหงปาดี
อ.บาเจาะ  จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในความงดงามของน้ำตกปาโจ
และจะพบทั่วไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบาลา – ฮาลา  จ.นราธิวาส
และป่าบาลา – ฮาลา จังหวัดยะลา
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  Bauhinia aureifolia
Prof. Kai  Lasenm  นักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก  เป็นผู้ตั้งชื่อเมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๓๒





ใบไม้สีทอง

ใบไม้สีทอง 


                     ใบไม้สีทอง หรือ ย่านดาโอ๊ะ เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ ใบอ่อนมีมีขนสีน้ำตาลแดง หรือขนสีทองแดงซึ่งเป็นที่มาของชื่อ เป็นพืชถิ่นเดียวพบเฉพาะในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส และ ยะลา




ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ใบไม้สีทองเป็นไม้เลื้อย มีลำต้นเป็นเถาขนาดใหญ่ เติบโตโดยการเกาะเลื้อยพันขึ้นไปผลิใยคลุมเรือนยอดของต้นไม้ใหญ่ในป่า สูงถึง 30 เมตร ใบรูปหัวใจ ปลายใบรูปหัวใจกลับ กว้าง 10 ซม.ยาว 18 ซม. ผิวใบมีขน ละเอียดคล้าย กำมะหยี่สีทองหรือสีเหลืองเคลือบสีเงินปกคลุม ใบมีสองชนิด คือกลุ่มใบสีเขียวทำหน้าที่สังเคราะห์แสงและกลุ่มใบสีทองซึ่งบริเวณปลายกิ่งขณะยังเป็นใบอ่อนมีสีม่วงแล้วค่อยๆเปลี่ยนเมื่อใบแก่ขึ้นเป็นลำดับจนกระทั่งใบแก่เต็มที่จะเป็นสีคล้ายสีทองแดงระยะสุดท้ายจะเปลี่ยนเป็นสีเงินแล้วจะทิ้งใบ ระยะที่จะเห็นใบเป็นสีทองชัดเจนในช่วงเดือน มิถุนายน -กรกฎาคม ของทุกปี ต้นที่ปรากฏใบสีทองต้องมีอายุมากกว่า 5 ปี ดอกสีขาวเกิดเป็นช่ออยู่บริเวณปลายกิ่ง ลักษณะคล้าย ดอกเสี้ยว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ช่อหนึ่งๆ มี ตั้งแต่ 10 ดอกขึ้นไปมีกลิ่นหอม ออกดอกประมาณเดือน ตุลาคม - กุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักแบบคล้ายฝักดาบ ยาว 23 ซม. กว้าง 6 ซม. มีขนสีน้ำตาลแดงคล้ายกำมะหยี่ปกคลุม หนึ่งฝักมี ประมาณ 4-6 เมล็ด